บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตราสารอนุพันธ์ คืออะไร


ตราสารอนุพันธ์ คืออะไร

ตราสารอนุพันธ์ มีลักษณะเป็นสัญญา หรือข้อตกลงที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการที่จะซื้อหรือขายสินค้าในราคา ปริมาณ และเงื่อนไขอื่นที่ตกลงกันไว้ โดยมีการส่งมอบสินค้ากันในอนาคต และมูลค่าของอนุพันธ์ ขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าที่ตกลงซื้อขาย



ลักษณะเฉพาะของตราสารอนุพันธ์

1. ตราสารอนุพันธ์ไม่มีมูลค่าในตัวเอง แต่มูลค่าจะอ้างอิงกับราคาของ “สินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset)” ที่ตราสารอนุพันธ์นั้นอ้างอิงอยู่
2. ตราสารอนุพันธ์มีอายุจำกัด ไม่เหมือนกับหุ้นสามัญที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิตามกฎหมายให้หุ้นของตนตราบเท่า ที่บริษัทผู้ออกหุ้นนั้นยังคงอยู่
3. ตราสารอนุพันธ์เป็นสัญญาที่ผู้ซื้อและผู้ขายต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ระบุ ไว้ ในขณะที่การลงทุนในหุ้นสามัญ ผู้ถือหุ้นสามารถถือหุ้นได้นานตามความต้องการ โดยไม่มีเงื่อนไขอะไรมาบังคับว่าจะต้องขายหุ้นออกไม่เมื่อนั้นเมื่อนี้
4. ตราสารอนุพันธ์มี Leverage นั่นก็คือ ใช้เงินลงทุนน้อย แต่ผู้ลงทุนมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ในอัตรา ที่สูง ทั้งในด้านบวก (กำไร) และด้านลบ (ขาดทุน)
ซื้อขายอะไรในอนุพันธ์
ตรา สารอนุพันธ์มีหลายประเภท แต่ที่มีซื้อขายใน บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ สัญญาฟิวเจอร์ส (Futures) และสัญญาออปชั่น (Options)
Futures หมายถึง สัญญาที่กำหนดให้คู่สัญญาต้องซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิงให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง ณ เวลาหนึ่งในอนาคต ตามจำนวนและราคาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ข้อผูกพันนี้จะอยู่ไปจนครบอายุหรือจนกว่าจะมีการหักล้างสัญญาเกิดขึ้น

Options หมาย ถึง สัญญาที่ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่จะเรียกให้คู่สัญญาอีกฝ่ายซื้อหรือ ขายสิทธิเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต ตามจำนวนและราคาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยผู้ได้สิทธินี้จะใช้สิทธิก็ได้


ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ซื้อขายกันในตลาดการเงินในปัจจุบัน  มีหลายคนคิดว่าตราสารอนุพันธ์เป็นของใหม่ ที่จริงแล้วตราสารประเภทนี้มีวิวัฒนาการมาแล้วหลายศตวรรษ  เพียงแต่ผู้คนทั่วไปไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับวิธีการโดยเฉพาะเมื่อนำมาปรับใช้กับสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial assests) และเมื่อมีการนำคณิตศาสตร์ขั้นสูงเข้ามาใช้ในการคำนวณราคาของตราสารอนุพันธ์ก็ยิ่งทำให้การศึกษาเรื่องตราสารอนุพันธ์อยู่ไกลตัวของผู้คนส่วนใหญ่ออกไปทุกที เนื้อหาในบทนี้มีจุดมุ่งหมายจะนำเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานให้ผู้สนใจเข้าใจความหมาย บทบาท  ของตราสารอนุพันธ์ว่าเหตุใดนักลงทุนจึงเข้ามาทำการซื้อขายตราสารประเภทนี้จนมีมูลค่าการซื้อขายทั่วโลก ถึงวันละหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา  นอกจากนี้จะได้วางพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์สำคัญ 2 ประการคือ Futures และ Options  ซึ่งจะเป็นตราสารหลักที่ได้กล่าวถึงต่อไปในหนังสือเล่มนี้

1. ความหมายของตราสารอนุพันธ์
“ตราสารอนุพันธ์ ( Derivatives ) เป็นสัญญาทางการเงินระหว่างบุคคลตั้งแต่  2 ฝ่ายขึ้นไปเพื่อตกลงกันซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน (Underlying  assets) ในปัจจุบัน แต่ทำการส่งมอบและชำระราคากันในอนาคต

ตราสารอนุพันธ์ถูกสร้างและออกแบบมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารและป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกัน (Underlying  assets) โดยปกติแล้วการซื้อขายตราสารทางการเงิน  เช่น  หุ้นกู้  หุ้นสามัญ  เป็นต้นนั้น  ผู้ขาย (Issuers) ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการเงินทุนจะเป็นผู้ออกตราสารมาขายให้แก่ผู้ซื้อ  (Investors)  ซึ่งเป็นผู้มีเงินทุนเหลือ  ผู้ซื้อยอมลงทุนในตราสารอนุพันธ์ทางการเงินก็เพราะต้องการอัตราผลตอบแทนที่ดี ซึ่งโดยหลักแล้วจะมาจาก  ดอกเบี้ย  หรือ เงินปันผล และกำไรส่วนเกินจากราคาเมื่อซื้อและเมื่อขายตราสารนั้น (Capital gain) อย่างไรก็ตามผลตอบแทนที่ผู้ซื้อต้อการนั้นจะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งมีความไม่แน่นอน  ทั้งจากผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกตราสารนึ้นมาขายและจากปัจจัยภายนอก  เช่น ภาวะเศรษฐกิจ  อุตสาหกรรม  เป็นต้น  การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดความผันผวนของราคาตราสารทางการเงิน  ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารนั้น  ซึ่งเป็นสภาวะที่เรียกได้ว่าเกิดความเสี่ยงจากการลงทุนขึ้น  นักการเงินได้สร้างตราสารอนุพันธ์ขึ้นเพื่อใช้บริหาร  และป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทางการเงิน (รวมทั้งสินทรัพย์ประเภทอื่นด้วย  เช่น  สินค้าเกษตร ) ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในปัจจุบันที่สภาพเศรษฐกิจและตลาดการเงินทั่วโลกมีปัจจัยต่างๆ  เข้ามาเกี่ยวข้องมาก  และก่อให้เกิดความผันผวนกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก

เนื่องจากราคาของสินทรัพย์ทางการเงินอ้างอิง  ซึ่งเป็น  Underlying  assets  ของตราสารอนุพันธ์มีความผันผวน  จึงส่งผลให้ราคาของตราสารอนุพันธ์มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  ซึ่งเป็นโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาทำการเก็งกำไรเพื่อหาผลประโยชน์จากตราสารอนุพันธ์นี้ การขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิงของตราสารอนุพันธ์นี้สอดคล้องกับชื่อภาษาอังกฤษของตราสารอนุพันธ์ คือ  “Derivatives“  ซึ่งมาจากรากของคำว่า  Derive  ที่แปลว่า  “มาจาก“ หรือ  “ขึ้นอยู่กับ“ ในที่นี้หมายถึงการขึ้นอยู่กับ  หรือ  พึ่งพิงต่อการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์การเงินอ้างอิงนั่นเอง

ในตลาดการเงินนั้นสินทรัพย์การเงินอ้างอิงที่นิยมใช้กันประกอบด้วย หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรืออาจเป็นระดับของดัชนีบางอย่าง เช่น  ดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น  ดังนั้นเราจึงได้เห็นตราสารอนุพันธ์ที่ถูกกำหนดมาโดยอ้างอิงกับตราสารหรือดัชนีต่างๆ ข้างต้น  ในระดับความรู้พื้นฐานผู้สนใจควรได้เรียนรู้ตราสารอนุพันธ์หลักๆ ได้แก่  Futures , Options  อย่างไรก็ตามควรระลึกไว้ด้วยว่า  ในปัจจุบันตราสารอนุพันธ์ได้เติบโตและพัฒนาเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องชนิดใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง  เช่น  Swap, Cap , Floor, Collar , Corridor , Swaption , Floortion , Spreadtion , Look-back , Khockout Option เป็นต้น  ซึ่งควรจะได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเปิดร้านขายไก่ย่าง5ดาว

การเปิดร้านขายไก่ย่าง5ดาว


คุณสมบัติเจ้าของซุ้มห้าดาว



อายุไม่เกิน 40 ปี
สัญชาติไทย
มีใจรักงานขายและการบริการ
มีทำเลที่ตั้งซุ้มห้าดาวที่เหมาะสม ผ่านการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ของบริษัท
ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของซุ้มห้าดาว (ประมาณ 15,000 บาท)

ค่าค้ำประกันตู้และอุปกรณ์ต่างๆ 3,000 บาท ซึ่งจะได้รับคืนเมื่อเลิกกิจการ
ค่าขนส่งตู้ และอุปกรณ์ต่างๆ ไปยังจุดขายตามจริง
ค่าสินค้า (บริการส่งสินค้าให้ฟรี)
อุปกรณ์ที่ทางบริษัทให้ยืม



ตู้ทอด ตู้เย็น อุปกรณ์การขาย

ขั้นตอนการเป็นเจ้าของซุ้มห้าดาว

แจ้งทำเลที่ต้องการจะตั้งซุ้มห้าดาว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพิจารณาความเหมาะสม
ผู้ที่จะขายต้องผ่านการฝึกอบรมกับทางบริษัท อย่างน้อย 4 วัน (ค่าฝึกอบรม 250 บาท/คน)
หลังจากผ่านการฝึกอบรมแล้ว จึงทำสัญญา* และเริ่มเปิดซุ้มขาย
เอกสารที่ใช้ในการทำสัญญา: สำเนาทำเบียนบ้าน 3 ใบและสำเนาบัตรประชาชน 3 ใบ



ระเบียบข้อปฏิบัติ

ผู้ขายต้องสวมเสื้อฟอร์ม เอี๊ยมกันเปื้อน และหมวกของบริษัท
ต้องดูแลความสะอาดซุ้มและเครื่องมือเครื่องใช้เป็นอย่างดี เพราะบริษัทให้ยืมโดยไม่คิดค่าเช่าใดๆ
ต้องไม่นำสินค้าที่ไม่ใช่ของบริษัทมาขายที่ซุ้มหรือนำมาเก็บรวมกับเครื่องเครื่องใช้ของบริษัท
ต้องไม่นำสินค้าเก่า ค้างวัน กลับมาขาย
ต้องให้การสนับสนุนสินค้าใหม่ของทางบริษัท
ชำระสินค้ากับทางบริษัทเป็นเงินสดทันทีเมื่อได้รับสินค้า
ขายสินค้าตามราคาที่บริษัทกำหนด
สนใจธุรกิจติดต่อ 02-800-8000

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

ภาษีโรงเรือนคืออะไร


    ภาษีโรงเรือนคืออะไร

  ภาษีโรงเรือน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น โรงเรือน หมายความถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต อพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สนามม้า สนามมวย คลังสินค้า เรือนแพ ฯลฯ สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หมายถึง



    สิ่งปลูกสร้างอื่น ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร เช่น ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ คานเรือ ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น และบริเวณต่อเนื่องซึ่งใช้ด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่ดิน หมายความรวมถึง ทางน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ ด้วย



        ภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นภาษีอากรที่ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2534 ในกรุงเทพมหานคร เทศบาลเมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำค่าภาษีไปชำระต่อพนักงานเก็บภาษี ณ สำนักงานเขตที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตั้งอยู่ เป็นต้น

        แต่ก็มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 9 ว่าทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน

1.พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
2.ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟฯ โดยตรง

3.ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและการศึกษา

4.ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
5.โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของมิได้อยู่เอง หรือให้ผู้อื่นอยู่ นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หรือในที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกัน

6.โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ และตามมาตรา 10 หากโรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งเจ้าของที่มีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่เอง หรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษาและมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าหลังประกอบอุตสาหกรรม (เช่น หากเป็นบ้านอยู่เองแต่แบ่งเป็นห้องๆ ให้เช่าก็ต้องเสียภาษีด้วย เพราะทรัพย์สินคือโรงเรือนก่อให้เกิดรายได้ขึ้นมาแล้ว)

        ดังนั้น หากเป็นบ้านที่ใช้อยู่อาศัยอย่างเดียวไม่ได้ใช้บ้านประกอบกิจการค้าขาย ไม่ได้ให้เช่า ก็ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน แต่บ้านของนาตาลีมีกิจการค้าขาย มีรายได้ จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย


ค่าภาษี

1. ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปี 2. อัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี

ค่าภาษี = ค่ารายปี x 12.5 %

กำหนดการชำระภาษี

เมื่อเจ้าของทรัพย์สินได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8) แล้วต้องไปชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับจากวันถัดจากที่ได้รับแจ้งการประเมินมิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ดังนี้ 1. ถ้าชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนด ให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง 2. ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีค้าง 3. ถ้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีค้าง 4. ถ้าเกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง - การผ่อนชำระค่าภ­าษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องมีวงเงินค่าภาษีที่จะขอผ่อนตั้งแต่ 9,000 บาทขึ้นไป ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โดยแบ่งออกเป็น 3 งวด ๆ ละเท่า ๆ กัน (งวดละ 30 วัน) - ถ้าไม่ชำระค่าภาษีและเงินเพิ่มภายใน 4 เดือน นายกเทศมนตรีมีอำนาจออก คำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด หรือขาย ทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระ ค่าภาษี เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีเงิน เพิ่มค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายโดยมิต้อง ขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด - ระยะเวลาการให้บริการ โดยประมาณ 15 นาทีต่อราย ไม่รวมเวลาขั้นตอน สอบสวน (ถ้ามี)

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ธุรกิจโตเร็วเกินไปอันตราย

ธุรกิจโตเร็วเกินไปอันตราย


หลายบริษัทดูดีไปหมด  จะรู้ได้อย่างไรว่าบริษัทไหนใกล้เจ้งแล้ว  อะไรเป็นตัวบอกเหตุ



                อะไรจะดีหรือแย่อยู่ที่ตัวเรา ไม่ใช่สิ่งแวดล้อมภายนอก

                บริษัทธนาคารพบภัยพิบัติ  แผ่นดินไหวอาคารพังหมด เขาก็เข้าไปเอาเงินมาแล้วทำการตามปกติที่ใหม่ โดยใช้กระดานแผ่นเดียวเป็นโต๊ะทำงาน และเดินต่อจนธนาคารเป็นปกติ

                ธนาคารหนึ่งขาดทุนมากจนกระทบเศรษฐกิจประเทศจะผ่านวิกฤติได้อย่างไร  เราจะรู้ตัวล่วงหน้าได้อย่างไร

                จากการศึกษาข้อมูล  บริษัทต่างๆ  ในสภาพแวดล้อมเหมือนกัน  บริษัทหนึ่งเติบโตขึ้นแต่อีกบริษัทหนึ่งตกต่ำลง  เมื่อเวลาผ่านไป

                เราอาจแบ่งความพ่ายแพ้ของธุรกิจตามวัฎจักรชีวิตดังนี้

                1.  เริ่มประสบความสำเร็จ

                2.  มั่นใจว่าสำเร็จทุกอย่าง

                3.  เริ่มมองไม่เห็นความเสี่ยง

                4.  ดิ้นรนหาทางรอด

                5.  ตายหรือกลายเป็นบริษัทเล็กๆ

ยุค  1

          ผยองใส่แรงพยายามมาก  มีแรงเฉื่อยจากของเดิมแล้วไม่ทำต่อ  หากไม่ทำต่อมีปัญหาแน่ทำอะไรก็สำเร็จลืมว่าต้องมุ่งเน้นว่าสำเร็จได้อย่างไร  คิดว่าใช้ได้ทุกอย่าง  ไม่อยากเรียนรู้  คิดว่าเราเก่ง  ลืมไปว่าเราโชคดี  ประมาทไปว่ามีลูกค้ามากๆ  จนอหังกา  ดูแคลนเอเย่นต์  คิดว่าคู่แข่งด้อยกว่า  ละเลยธุรกิจหลักที่เราเก่ง  กลยุทธ์ของดีราคาถูก  ขายดีแน่นอน  เปลี่ยนเป็นไม่มีนายหน้าเป็นแค่คนแนะนำสินค้าให้ลองเล่นได้  หาคนเก่งมากมาแนะนำมาจากฐานเดิมที่เราเก่งแล้วพัฒนา  ประสบความสำเร็จ  แต่หากทั้งๆ  ขว้างๆ  ธุรกิจจบแน่  ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหลักหรือใหม่

                บริษัทหนึ่ง  20  ปี  ผ่านมา  เหมือนเดิมทุกอย่าง  แม้แต่ชุดแต่งกายสุดท้ายเจ้ง   ประเด็นคือรักษาของเดิมโดยไม่รู้ความหมายทำไปเพื่ออะไร

ยุค  2

                ทำอะไรเกินตัว  คิดว่าใหญ่แล้วดี  ใหญ่กับยิ่งใหญ่ไม่เหมือนกัน  ทำสิ่งที่ไม่เก่งพอ  ไม่ชอบงานพอ  ลงทุนในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ในการแข่งขัน  ทำไม่เหมาะกับวัฒนธรรมองค์กร  ไม่ขับเคลื่อนต่อเนื่อง  ทำเพื่อสะใจสิ้นเปลือง  ลืมวัตถุประสงค์เดิมของบริษัทว่าตั้งขึ้นมาทำไมเติบโตเร็วเกินจนควบคุมไม่ได้

                สัดส่วนงานตามภารหน้าที่หลักมีกี่  %  เช่นตำแหน่งสำคัญ  20  ตำแหน่ง  เก่งพอกี่  %  ถ้าน้อยมีปัญหา  บริษัทต้องไม่โตเกินกว่าจำนวนคนที่จะหามาดูแลกิจการเหมือนกินข้าวแล้วย่อยไม่ทัน  (โตเกินตัว)  พอโตเป็นตัว  จะหาคนที่เก่งพอมารับไม่ได้  เลยรับคนมาและต้องหาระบบกติการะเบียบมามัด  คนเก่งจริงๆ  ก็จะลาออก  คนพอใช้ก็จะมาแทนในที่สุดก็รักษาธุรกิจไม่ได้

                นวัตกรรมมีมากๆ  ดี  เช่นในบริษัทผลิตยา  แต่ต้องรู้ว่ามีมากแล้วเอาไปทำอะไรดี

                ธรรมชาติผู้นำถ่อมตนจะยั่งยืนโตได้  ไม่รู้ก็ก็หาผู้รู้ต้อนรับแบบชาวบ้าน  ถามว่าซื้ออะไรมา  เรียนรู้ตลอด  หาทายาทที่สอดคล้องติดดิน  บางธุรกิจดีปีเดียวเอาของมีปัญหามาขายปีถัดๆ  ไปไม่มีของขายเจ้ง  บางบริษัทมีผลิตภัณฑ์ใหม่ทุกๆ  ปีครึ่งเน้นนวัตกรรมลืมควบคุมต้นทุนตอบสนองลูกค้าไล่เช้าในที่สุดเจ้ง

                บริษัทยา  สิทธิบริษัทเริ่มจะหมดอายุ  พึ่งมีสินค้าใหม่ที่มีสิทธิบัตรพึ่งได้รับการพิสูจน์  มีผลกระทบข้างเคียงต่อหัวใจ  ยอดขายดีมากๆ  2-3  ปี  มีคนพิสูจน์ว่ามีผลต่อหัวใจ  ตัดสินใจถอนยาออกจากตลาด

                ผู้มีอำนาจในอาณาจักรโรมัน  ใช้วิธีแนะนำไม่ใช่สั่งบ้านพออยู่ไม่ต้องใหญ่โต   เติบโตมาก  แต่ล้มในช่วงหลังเพราะทายาทไม่เก่ง  บอร์ดธุรกิจอาจหา  CEO  จากภายในหรือภายนอกที่สอดคล้องกับธุรกิจ  ธุรกิจเติบโตได้ต้องเป็นทีมและ  CEO  คนเดียวทำให้ธุรกิจเจ้งได้

ยุค  3

                เริ่มปฎิเสธข้อมูลที่เป็นลบ  รับแต่ที่ชอบ  ข้อมูลงงๆ  ก็จะไม่ยอมรับ  เช่น  โทษเศรษฐกิจตก  คู่แข่งขัน  ภัยพิบัติ

                ไปทำธุรกิจใหม่ที่ไม่ถนัด  ยอมรับความเสี่ยงโดยไม่ลงลึกรายละเอียด  เจ้ง  ช่วงนี้ธุรกิจยังรุ่งอยู่แต่สูงสุดแล้ว

                แนวคิดโทรศัพท์ที่มีปัญหาไม่ครอบคลุม  จึงคิดจะผ่านระบบดาวเทียมทั่วโลก  ลงทุนมากเท่ากำไรทั้งปี  ยุคนั้นเริ่มมีระบบเซลลูล่าร์ตั้งสถานีบนพื้นดินได้ช่วงนั้นจึงไม่จำเป็นต้องผ่านดาวเทียม  แต่มีขีดจำกัดว่าต้องหยุดเคลื่อนที่และอยู่นอกอาคารก่อนโทรศัพท์  ตัดสินใจลงทุนหนัก  คนไม่นิยมเลยเจ้งเพราะเชื่อมั่นในตัวเอง  ใส่แรงพยายามมาก  ไม่อยากล้มโครงการ

                อุปกรณ์สอนพูด  โดยผ่านชิฟ  ซึ่งมีหลากหลายเจริญรุ่งเรืองมา  2  ปี  โดยมีพื้นฐานการทดลองอย่างดีว่าได้ผลจึงโตมาตลอด

                ยานกระสวยอวกาศ  มีปัญหาโอลิงมีแต่คุยกันว่าที่อุณหภูมินี้ปลอดภัยหรือเปล่ามีแต่คุยกันไม่ยอมทดสอบก่อนใช้งานแล้วเอาไปใช้งาน  ผลยานระเบิด  ให้ไปดูกระบวนการตัดสินใจของผู้นำ  เช่นเรือรั่วอยู่บนน้ำหรือในน้ำ  รูใหญ่รูเล็ก  ก็จะตัดสินใจซ่อม  การตัดสินใจจะเดินหน้าต่อหรือจะชะลอโครงการอาจจะดีกว่ามีความเสี่ยงถึงขั้นระเบิด

                คอมพิวเตอร์ก่งเมนเฟรมแต่แนวโน้มตลาดเป็นแบบตั้งโต๊ะแต่ก็เดินหน้าต่อ  ผลคือเจ้ง

                ปรับองค์กรหลายๆ  ปี  แบบตกใจ  ลืมว่าเหตุอยู่ไหนในที่สุดเจ้ง

ยุค  4

                หาทางรอด  หาผู้นำเก่งๆ  จากภายนอกมา  ทำวัฒนธรรมองค์กร  พยายามยึดครองเป็นเจ้าของคนอื่น  ทำแบบตื่นตะหนกทำแบบให้มีกิจกรรมทำ  ยึดเขามาแล้วบริหารไม่ได้

                สิ่งที่พลาดไปคือโตเร็วเกินไปในเวลาสั้นๆ  ในการเพิ่มยอดขายแล้วไม่ยั่งยืน  ซึ่งขัดกับคนแรกๆ  บอกแนวทางไว้ว่าอย่าโตเร็วเกินไปจะหาคนมาทำไม่ได้

                ยอดสุภาพสตรีคนเก่ง  ดูทันสมัย  หนังสือนิตยสารรุมตอมีการพูดถึงแนวทางแต่ไม่ลงละเอียด  ปรากฎว่าธุรกิจตกลงอีก

                CEO  คนใหม่มาแบบชาวบ้านๆ  เข้ามาฟังวิเคราะห์สถานกาณ์มาวันแรกมาพูดถึงวิสัยทัศน์ เขาเข้ามาฟังก่อน  หาที่ปรึกษาดีๆ  มา  หาคนเก่งมาปรึกษา  มาทำวิสัยทัศน์  ธุรกิจโตขึ้น

                เครื่องโรเนียวยิ่งใหญ่มาก  เกิดนวัตกรรมใหม่  มีเครื่องถ่ายเอกสารเป็นคู่แข่ง  ขายดีจนป้อนไม่ได้  ส่งสินค้าไม่ทันหา  CEO  มาใหม่ทำ  Change  ทำ  Culture  ปรากฎว่าขาดทุนปีเดียวกินกำไรที่ทำมา  50  ปี  ล้มเหลวอีกเป็นการแก้และทำแบบพานิคหรือตกใจ  ทำสักแต่ว่าทำเหมือนทหารตกใจสักแค่ว่ายิงๆ  จนกระสุนหมด

                เมื่อมีเหตุการณ์ให้หยุดหายใจลึกๆ  ฝึกสติแล้วจะเห็นปัญหาแล้วจะแก้ถูกทาง

ยุค  5

                ยุคสุดท้าย  หากธุรกิจถึงยุคนี้แล้วโคม่าทางรอดยากสิ้นหวัง  หมดทรัพยากรที่จะต่อสู้  หากสู้ต่อก็ต้องคิดให้ดีๆ  เพราะสถานะการเงินแย่  หนี้สินมาก  ค่าใช้จ่ายภารมาก  มูลค่าหุ้นตกต่ำสุดๆ  ภาวะนี้ลดจำนวนคนงานให้เหมาะกับงานพอมีกำไรก็ขายบริษัททิ้งไป  เลือกเชือดบางธุรกิจ

                การประมาทคู่แข่งต่างชาติอาจพลาดพลิง  ผู้นำโทษเหตุปัจจัยอื่น  เช่นวิกฤติน้ำมัน  แรงงานมีปัญหา  โทษอื่นๆ  หมดกำลังผลิตเหลือก็ขายลดราคา  ธุรกิจใหญ่มาก  ควบคุมไม่ได้ทั้งที่มีกำลัง

ข้อสังเกต

                บางแห่งไม่เรียงตามยุค  เวลาก็ไม่แน่นอนอาจไม่กี่ปี  ธุรกิจเจ้งจากตัวเองเป็นส่วนใหญ่และส่งผลมาก  สภาพแวดล้อมมีผลบ้างไม่มาก  ธุรกิจที่สำเร็จต้องเชื่อข้อจริง  อย่ามองโลกแง่ดีหรืออยู่ใช้ความเชื่อมั่นนำเท่านั้น

                ไม่ว่าจะเกิดขึ้นอย่ายอมแพ้  อย่ายอมจำนนต่อผู้มีอำนาจ  อย่ายอมคู่แข่งที่ข่มขู่


ภูมิปัญญาอภิวัฒน์
 Budding Wisdom
http://www.budmgt.com/topics/top01/migthy-fall-ngivein.html

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

การเลือกทำเลทำร้านค้าปลีก

การเลือกทำเลทำร้านค้าปลีก


เป็นที่รู้กันว่าการเลือกทำเลถือเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะชี้ชะตาธุรกิจของคุณว่าจะอยู่หรือจะไป แต่ทั้งนี้ทำเลที่ดีไม่ได้หมายความว่าจะต้องตั้งอยู่ใจกลางเมือง มีฮวงจุ้ยดี ผู้คนพลุกพล่านเสมอไป คุณควรใช้หลักการอีกหลักการหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาเลือกทำเลของคุณ และหลักการข้อนี้คือการดูว่าทำเลนั้นๆเหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจของคุณหรือไม่ โดยพิจารณาจากรูปแบบธุรกิจต่างๆดังต่อไปนี้



ด้วยความที่โฮมออฟฟิศเป็นบ้านที่แสนสบายก็อาจจะทำให้คุณรู้สึกขาดแรงกระตุ้นในการทำงานได้
การประกอบกิจการแบบโฮมออฟฟิศถือเป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบการรายใหม่ซึ่งเพิ่งเริ่มต้นกิจการนิยมกันมากในปัจจุบันก่อนที่จะขยับขยายไปยังย่านธุรกิจเมื่อกิจการเติบโตขึ้นแล้ว โฮมออฟฟิศที่พบเห็นกันมากนั้นมีทั้งที่เป็นตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ ไปจนถึงการใช้บ้านจริงๆ โดยดัดแปลงห้องนอน ห้องรับแขก ระเบียง ไปจนถึงโต๊ะในห้องครัวให้กลายเป็นที่ทำงาน นอกจากเป็นได้ทั้งบ้านและที่ทำงานแล้ว โฮมออฟฟิศยังช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทางในแต่ละวัน รวมไปถึงการประหยัดค่าเช่าสถานที่เพื่อทำสำนักงานอีกด้วย แต่ข้อเสียก็คือ อาจทำให้คุณพักผ่อนได้ไม่เต็มที่เพราะมองไปทางไหนของบ้านก็มีแต่งานกองไปหมด หรือในทางกลับกันด้วยความที่มันเป็นบ้านที่แสนสบายก็อาจจะทำให้คุณรู้สึกขาดแรงกระตุ้นในการทำงานจนส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพในการทำงานได้ ดังนั้นการที่คุณจะตัดสินใจทำกิจการโฮม ออฟฟิศนั้นคุณจึงควรชั่งน้ำหนักระหว่างผลดีและผลเสียที่มีอยู่ให้ดี

แม้ว่าโฮมออฟฟิศจะมีความใกล้เคียงกับบ้านมาก แต่หลักการเลือกโฮมออฟฟิศก็ใช่ว่าจะเหมือนกับบ้านเสมอไป คุณจึงต้องดูว่าคุณให้น้ำหนักเรื่องไหนมากกว่ากัน ถ้าคุณเน้นที่ความเป็นบ้านคุณก็ควรจะเลือกทำเลที่สงบ ในขณะที่ถ้าคุณเน้นเรื่องการเป็นที่ทำงานคุณก็ต้องเลือกทำเลที่มีผู้คนสัญจรไปมาได้สะดวก มีที่เพียงพอสำหรับจอดรถ ซึ่งตำแหน่งที่เอื้อประโยชน์กับการจอดรถนั้น คือ ตำแหน่งหัวมุมที่สามารถจอดรถได้สองด้าน และตำแหน่งท้ายซอยซึ่งจะมีพื้นที่เหลือสำหรับจอดรถได้มากกว่าต้นซอย

นอกจากนี้สิ่งที่คุณควรคำนึงอีกอย่างหนึ่งในการเลือกทำเลสำหรับทำโฮมออฟฟิศ ก็คือ หลักกฎหมาย คุณต้องศึกษาให้ดีว่าลักษณะบ้านที่คุณจะดัดแปลงเป็นที่ทำงานนั้นสามารถทำได้หรือไม่ และต้องทำการขออนุญาตจัดตั้งให้ชัดเจน มิฉะนั้นคุณอาจจะมีเรื่องยุ่งยากตามมาอย่างหลายๆกิจการที่แอบทำอย่างหลบๆซ่อนๆ กะว่ากิจการโตเมื่อไหร่แล้วถึงจะไปแจ้งทีเดียว จนสุดท้ายถูกจับและเสียค่าปรับมากกว่าการไปแจ้งตั้งแต่แรกเสียอีก

นี่เป็นรูปแบบการประกอบการที่มีอยู่ทั่วไปทุกมุมเมือง  ไม่ว่าจะเป็นในห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานบันเทิง สนามบิน  โรงถาพยนตร์ โรงแรม สปอร์ตคลับ ริมข้างทาง และสถานที่อื่นๆ แม้กระทั้งตามตรอกซอกซอยเล็กๆก็ยังมักจะมีร้านขายปลีกตั้งอยู่

หลักการเลือกทำเลสำหรับร้านขายปลีกและร้านบริการนั้นนอกจากจะต้องเป็นจุดที่เป็นที่สังเกตได้ชัด มีที่สำหรับจอดรถ และเป็นแหล่งที่ผู้คนพลุกพล่านแล้ว ร้านค้าปลีกก็จำเป็นจะต้องเลือกทำเลตามกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ร้านเครื่องเขียนก็ควรจะอยู่ใกล้โรงเรียน ร้านเสื้อผ้าแฟชั่นก็ควรจะอยู่ในศูนย์การค้า ร้านอาหารตามสั่งตั้งอยู่ในแหล่งหอพัก ร้านกาแฟอยู่ในแหล่งนัดหมาย เป็นต้น

กลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งในการเลือกทำเลสำหรับทำร้านค้าปลีกก็คือ ควรจะตั้งร้านให้อยู่ในแหล่งที่มีจุดดึงดูด ยกตัวอย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ฯลฯ ซึ่งสถานที่เหล่านี้จะเป็นตัวดึงดูดลูกค้าได้ดี การที่คุณตั้งร้านอยู่ใกล้ๆลูกค้าที่มาใช้บริการสถานที่เหล่านั้นก็อาจจะมาใช้บริการร้านของคุณด้วย แต่ทั้งนี้ควรมีข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือ อย่าตั้งร้านใกล้ร้านดังที่ขายสินค้าและบริการแบบเดียวกับคุณเด็ดขาด เพราะมีความเสี่ยงที่ว่าลูกค้าจะไปใช้บริการร้านดังกล่าวเพราะชื่อเสียงที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วมากกว่าร้านเปิดใหม่อย่างคุณ

ถ้าคุณตั้งใจจะทำธุรกิจเคลื่อนที่อย่าง รถขายอาหาร ขายอุปกรณ์ต่างๆ ไปจนถึงการขายตรงหลายประเภทแล้วล่ะก็สิ่งแรกที่คุณต้องทำก่อนการหาทำเลที่ดี ก็คือ คุณจำเป็นต้องมียานพาหนะที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณก่อน ไม่ว่าจะเป็นรถเข็นขายของ รถตู้ รถตู้ รถกระบะ รถบรรทุก ฯลฯ ซึ่งพาหนะเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือพาสินค้าและบริการของคุณไปสู่ทำเลที่ดี และผู้บริโภคของคุณเอง เพราะเพียงแค่คุณรู้ว่าที่ใดมีกลุ่มเป้าหมายของคุณอาศัยอยู่ คุณก็สามารถใช้พาหนะคู่ชีพของคุณนำสินค้าและบริการไปยังที่นั้นๆได้โดยสะดวก

ทั้งนี้ธุรกิจเคลื่อนที่ยังอาจมีจุดประจำของตนเองได้ เช่น หากคุณทำธุรกิจรถเข็นขายอาหาร คุณอาจมีจุดที่ตั้งร้านประจำอยู่ตรงหน้าตลาด แต่ระหว่างทางก่อนจะไปถึงคุณอาจจะสามารถขายให้กับลูกค้าหน้าหมู่บ้าน หรือขาจรที่จอดรถแวะซื้ออาหารของคุณก็ได้ แต่ข้อควรระวังก็คือคุณจำเป็นต้องศึกษาให้ดีว่าแต่ละจุดนั้นคุณสามารถขายของได้หรือไม่ เพราะไม่อย่างนั้นคุณอาจจะต้องเล่นวิ่งไล่จับกับเจ้าหน้าที่เทศกิจแถมไปด้วย

ออฟฟิศที่อยู่ในอาคารสำนักงานจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์กิจการของคุณให้ดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น
อาคารและสำนักงานให้เช่าถือเป็นทางเลือกที่นิยมกันมากในหมู่ธุรกิจที่ดำเนินการเป็นสำนักงานในปัจจุบัน โดยรูปแบบการให้เช่าพื้นที่นั้นมีตั้งแต่การเช่าอาคาร หรือสำนักงานทั่วไป ไปจนถึงโรงแรมต่างๆที่มักเปิดให้ธุรกิจเข้ามาเช่าพื้นที่ทำการทั้งชั่วคราวและระยะยาว

สิ่งที่ถือเป็นข้อดีที่ทำให้อาคารและสำนักงานให้เช่านั้นเป็นที่แพร่หลาย คือ การที่เจ้าของอาคารจะจัดเตรียมทุกสิ่งเกี่ยวกับการจัดการและการบริหารไว้ให้คุณ  ไม่ว่าจะเป็นพนักงานต้อนรับและเจ้าหน้าที่ประจำอาคาร บริการโทรสาร สำเนาเอกสาร  ห้องจัดประชุม กล่าวคือแทบทุกอย่างที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินการแก่คุณ อีกทั้งการที่รวมเอาหลายบริษัทไว้ภายใต้ชื่ออาคารเดียวกันยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์กิจการของคุณให้ดูเป็นบริษัทใหญ่และเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น นอกจากนี้การเช่าพื้นที่ยังช่วยประหยัดต้นทุนในการเริ่มต้นกิจการสำหรับกิจการใหม่อีกด้วย

ด้วยความที่เป็นเพียงสำนักงานจึงไม่ต้องอาศัยสถานที่ที่ดึงดูดคนมากเหมือนธุรกิจค้าปลีก คุณจึงสามารถเลือกได้ทั้งที่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองไปจนถึงตามชานเมืองโดยเน้นความสะดวกของคุณเป็นหลัก รวมไปถึงความเหมาะสมของอาคารโดยพิจารณาจากขนาดกิจการของคุณ และอาคารหรือสำนักงานที่คุณเลือกก็ควรจะมีสาธารณูปโภคต่างๆที่จำเป็นอย่างครบครัน โดยเฉพาะที่จอดรถสำหรับพนักงาน และมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เคร่งครัด

คุณควรเลือกตั้งโรงงานในสถานที่ซึ่งใกล้แหล่งวัตถุดิบ เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่ทันเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ทั้งยังต้องมีสาธารณูปโภคต่างๆอาทิเช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ อย่างครบถ้วนอีกด้วย

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ สถานที่ตั้งโรงงานของคุณควรมีพื้นที่เพียงพอที่พนักงานจะปฏิบัติงานได้สะดวก รวมไปถึงต้องมีพื้นที่เหลือพอที่จะสามารถขยับขยายโรงงานได้ เพราะถ้าหากมีพื้นที่จำกัด ต่อไปหากกิจการของคุณเจริญเติบโตขึ้น คุณอาจต้องย้ายที่ตั้ง หรือทำโรงงานมากกว่าหนึ่งแห่งซึ่งสิ้นเปลืองต้นทุนการจัดตั้งมากกว่า นอกเหนือจากนี้คุณต้องไม่ละเลยเรื่องการคมนาคมขนส่งที่สะดวก อย่างเช่น อยู่ใกล้สนามบิน ท่าเรือ หรือติดถนนเส้นหลักเส้นต่างๆ เพื่อให้ขนถ่าย และจัดส่งสินค้าได้โดยง่าย

โดยปกติที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆมักจะถูกจัดให้อยู่นอกแหล่งชุมชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหนักที่ต้องมีการควบคุมเรื่องมลพิษต่างๆเป็นพิเศษก็มักจะถูกจำกัดให้อยู่แต่ในอาณาเขตที่เป็นเขตอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ  ตัวอย่างเขตอุตสาหกรรมในไทยได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหรรมมาบตาพุด เป็นต้น ดังนั้นการเลือกจัดตั้งโรงงานให้อยู่ในเขตที่กำหนดจึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่กำลังมองหาทำเลที่จะสร้างโรงงานในขณะนี้

นอกเหนือจากที่กล่าวมา ผู้ประกอบการก็ควรจะใช้จิตสำนึกของตนในการเลือกทำเลด้วย เช่น ถ้าคุณต้องการทำโรงงานอุตสาหกรรมหนัก คุณก็ควรไปอยู่ในพื้นที่ที่กำหนด ไม่ใช่มาสร้างใกล้แหล่งชุมชนของตนเพื่อความสะดวก เพราะถึงคุณจะปิดใครต่อใครเรื่องธุรกิจของคุณได้ แต่คุณไม่อาจปิดผลกระทบที่เกิดกับลูกหลานในชุมชนของคุณได้อย่างแน่นอน

ทีมา http://incquity.com/articles/office-operation/good-business-location


วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

ธุรกิจ SME มีข้อดีอย่างไร

ธุรกิจ SME มีข้อดีอย่างไร

ที่เห็นๆก็คือ มีสภาพคล้องการปกครองปรับตัวได้ง่ายกว่า ถึงเเม้เงินทุนจะน้อยก็ตาม


คำว่า เอสเอ็มอี นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise (SME) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง สำหรับคำที่ใช้กันอย่างเป็นทางการ ของภาษาไทยคือ “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” นั่นเอง.



          คงเคยได้ยิน ได้ฟังกันมาบ้างแล้ว และอาจจะสงสัย หรือว่ามึนงง ไอ้เจ้า “เอสเอ็มอี” แท้ที่จริงนั้น sme คืออะไร กันแน่ ทำไมผู้ใหญ่หลายท่าน ถึงพยายามที่จะช่วยกัน ส่งเสริมและผักดันให้มีการลงทุน ในธุรกิจ เอสเอ็มอี

          คำว่า เอสเอ็มอี นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise (SME) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง สำหรับคำที่ใช้กันอย่างเป็นทางการ ของภาษาไทยคือ “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” นั่นเอง

          สำหรับประเทศไทย ได้มีกฎหมาย ธุรกิจเอสเอ็มอี ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พ.ศ. 2543  โดยตาม กฎหมายฉบับนี้นั้น ได้ให้อำนาจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการกำหนดว่า ใครบ้างที่จะได้ ขึ้นชื่อว่า เข้าข่ายเป็น ธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งจะประกาศออกมาเป็นกฎกระทรวง ก่อนหน้านี้ จะใช้เกณฑ์ ในการวัดว่า ธุรกิจไหนเป็น เอสเอ็มอี ดังนี้คือ

          • กิจการที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตหรือบริการ มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน สองร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สองร้อยคน
          • กิจการค้าส่ง ที่มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หนึ่งร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน ห้าสิบคน
          • กิจการค้าปลีก ที่มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หกสิบล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สามสิบคน

เอสเอ็มอี (SME หรือ SMEs) คืออะไร

          SMEs ย่อมาจาก Small and Medium Enterprises ชื่อภาษาไทยคือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (บางที่เรียกว่าธุรกิจกลาง-เล็ก) ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

          1) การผลิต (Product Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining)
          2) การค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
          3) การบริการ (Service Sector)

มีการจำแนกกิจการของ SMEs เอาไว้อย่างไร

เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกกิจการของ SMEs ว่าจะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม คือ
          1) มูลค่าชั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร
          2) จำนวนการจ้างงาน

การจำแนกประเภทของ SMEs โดยใช้มูลค่าชั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร สามารถจำแนกได้ดังนี้

          1) การผลิต : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 200 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 ล้านบาท
          2) การบริการ : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 200 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 ล้านบาท
          3) การค้า
               3.1 ค้าส่ง : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 100 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 ล้านบาท
               3.2 ค้าปลีก : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน 60 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 30 ล้านบาท

การจำแนกประเภทของ SMEs โดยใช้เกณฑ์จากจำนวนการจ้างงาน สามารถจำแนกได้ดังนี้

          1) การผลิต : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน  200 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 คน
          2) การบริการ : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน  200 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 50 คน
          3) การค้า
               3.1 ค้าส่ง : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน  50 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 25 คน
               3.2 ค้าปลีก : วิสาหกิจขนาดกลางไม่เกิน  30 คน วิสาหกิจขนาดเล็กไม่เกิน 15 คน



วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

อัตราดอกเบี้ยเเบบขั้นบันไดคืออะไร


การคิดดอกเบี้ยเงินฝากแบบขั้นบันได (Step Up)

ดอกเบี้ยเงินฝากแบบขั้นบันได หมายถึง ดอกเบี้ยจะมีการเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการฝาก ตามแต่เงื่อนไขของบัญชีเงินฝากที่สถาบันการเงินนั้น ๆ กำหนด ส่วนใหญ่จะกำหนดยอดเงินฝากขั้นต่ำ รวมทั้งเงื่อนไขการเบิกถอน



ก่อนกำหนด เช่น ฝากขั้นต่ำ 50,000 บาท และห้ามถอนก่อนกำหนด ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับดอกเบี้ยตามที่ประกาศ เป็นต้น

ปกติแล้ว การคิดดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดจะเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือจะไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับ
ในช่วงแรกมารวมเป็นเงินต้นในงวดถัดไป

การฝากเงินแบบขั้นบันไดเข้าข่ายประเภทเงินฝากประจำ ดังนั้นจะต้องมีการเสียภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา
ร้อยละ 15 ของยอดดอกเบี้ย

ตัวอย่าง

     ธนาคารพาณิชย์ประชาสัมพันธ์การฝากเงินให้กับ นาย ก. ว่า “หากนาย ก. ต้องการฝากเงินที่ได้รับผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากประจำที่อัตราร้อยละ 3 ต่อปี ควรฝากแบบขั้นบันได (Step Up) ที่มีระยะเวลาฝากเงิน 11 เดือน ซึ่งจะ

ได้รับผลตอบแทนสูงถึงร้อยละ 4 ต่อปี แต่นาย ก. จะไม่สามารถถอนเงินได้ก่อนกำหนด และธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด”

     ทั้งนี้ นาย ก. สนใจที่จะฝากเงินแบบขั้นบันไดนี้ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะได้รับผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินแบบประจำ นาย ก. จึงทดลองคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากแบบขั้นบันไดที่จะได้รับ โดยมีอัตราดอกเบี้ย ดังนี้

เดือนที่ 1 – 3         อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ      ร้อยละ 1

เดือนที่ 4 – 6         อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ      ร้อยละ 2

เดือนที่ 7 – 9         อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ      ร้อยละ 3

เดือนที่ 10 – 11     อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ      ร้อยละ 4



    ดอกเบี้ยเงินฝากแบบขั้นบันไดที่นาย ก. ได้รับจากการฝากเงินในช่วง 11 เดือน (334 วัน) เท่ากับ
                                          24.66 + 49.86 + 75.62 + 66.85 = 216.99 บาท

    ซึ่งเมื่อคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ นาย ก. ได้รับจะเท่ากับ
                                          2.37% =  216.99 x 100 x 365
                                                               10,000 x 334

    ทั้งนี้ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2554 ซึ่งครบกำหนดสัญญาฝากเงินแบบขั้นบันได นาย ก. จะได้รับเงินทั้งหมด
    จำนวน 10,184.44 บาท ซึ่งประกอบด้วย เงินต้นจำนวน 10,000 บาท และดอกเบี้ยหลังหักภาษี ร้อยละ 15
    จำนวน 184.44 บาท (216.99 x 0.85)

    เห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ที่ร้อยละ 2.37 ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ร้อยละ 3


รู้ไหมว่า : ผู้ฝากเงินควรสอบถามข้อมูลเหล่านี้ จากธนาคารก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการเงินฝากแบบขั้นบันได

อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศไว้สูงสุดอาจไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ได้รับ
แบงก์ชาติกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงให้แก่ผู้ฝากเงินแบบขั้นบันไดทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์เงินฝาก อันเป็นการปกป้องสิทธิของผู้ใช้บริการทางการเงิน
การถอนเงินฝากแบบขั้นบันไดก่อนกำหนด อาจได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ประกาศ ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารจะจ่ายด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์

ขอบคุณบทความจาก http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/interest/Pages/interest6.aspx